การ์ดจอ

การ์ดจอคืออะไร และ มีหลักการทำงานอย่างไร


คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้แม้ว่าคุณภาพพื้นฐานโดยรวมนับได้ว่าสามารถใช้งานได้อย่าง

ไม่มีปัญหา แต่สำหรับหลายๆ คนที่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติเพื่อสนอง

ความต้องการของตัวเอง การเรียนรู้และรู้จักส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยดึงศักยภาพ

การทำงานให้ดียิ่งขึ้นไปอีกถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก การ์ดแสดงผลหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ

ของการ์ดจอนับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกชิ้นหนึ่งที่เรียกได้ว่า คนที่มีความ

เชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

การ์ดจอคืออะไร



การ์ดจอเปรียบเสมือนตัวการสำคัญที่ใช้สำหรับการแสดงผลต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการ

นำผลการประมวลที่ได้จากซีพียูส่งต่อไปยังหน้าจอ ลักษณะของการ์ดจอจะเป็นเหมือนแผงวงจรประเภท

หนึ่ง โดยปกติหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วๆ ไป อาทิ พิมพ์งาน หรือเล่นอินเตอร์เน็ต ก็จะใช้

การ์ดจอแบบ 2 มิติ คือไม่ได้แสดงผลอะไรที่ซับซ้อนมากนัก แต่ถ้าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้

ประมวลผลเยอะและใช้เล่นเกมหรือทำกราฟฟิค 3 มิติ มากๆ ก็มีความจำเป็นทีจะต้องใช้การ์ดจอแบบ 3 

มิติ เพื่อที่จะให้การแสดงผลนั้นมีความชัดเจนและได้ผลดีที่สุด

หลักการทำงานของการ์ดจอ


หากเป็นหลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดจอนั้นจะเริ่มเมื่อโปรแกรมต่างๆ ที่เราใช้งานนั้นถูกส่งเพื่อให้มี

การประมวลผลที่ CPU เมื่อมีการประเมินผลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งผลประมวลที่ได้นั้นมายัง

การ์ดจอเพื่อให้การ์ดจอได้แสดงผลออกมาที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และการ์ดจอก็จะทำหน้าที่ในการแสดง

ผลที่ประมวลออกมานั้นให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยในปัจจุบันถ้าหากเป็นการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ก็

จะมีระบบในการเพิ่มความเร็วในการแสดงผลแบบ 3 มิติ และมีการเพิ่มหน่วยความจำให้อย่างเต็มที่ที่สุด

เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยให้มากที่สุด

การเลือกซื้อการ์ดจอที่เหมาะกับการใช้งาน
สำหรับการเลือกซื้อการ์ดจอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุดนั้นสิ่งสำคัญจะอยู่ที่ตัวของผู้ใช้งานเป็นหลัก เพราะตัวของผู้ใช้งานนั้นจะต้องรู้ตัวเองว่าปกติแล้วตัวเองเป็นคนใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะไหนมากที่สุด ถ้าหากว่าเป็นการใช้แบบธรรมดาทั่วไปไม่ได้เพิ่มอะไรเข้าไปมาก การใช้การ์ดจอที่มาจากคอมพิวเตอร์ปกติก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าหากรู้ตัวเองว่าชื่นชอบการเล่นเกมส์ หรือจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเกี่ยวกับกราฟฟิคที่มีความละเอียดสูงก็ควรที่จะเลือกใช้งานการ์ดจอที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างการใช้การ์ดจอ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้ได้ผลตามความต้องการอย่างที่ตั้งใจเอาไว้มากกว่า

ประเภทการ์ดจอ


      อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในการกำหนดว่าจะมีอะไรไปออกที่จอภาพได้บ้าง  รวมไปถึงความละเอียด

และสีที่จะแสดงออกบนจอภาพ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของวงจรบนการ์ด และมีส่วน สัมพันธ์กับ

ชอฟต์แวร์ที่จะให้ในการแสดงผลเป็นอย่างมาก ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการ์ดแสดงผลในแต่ละ

แบบโดยเริ่มกันที่การ์ดแสดงผลรุ่นบุกเบิกของไอบีเอ็มคือ  MDA


         MDA  (Monochrome Display Adapter)  เป็นการ์ดแสดงผลรุ่นแรกของไอบีเอ็ม นิยมใช้กับจอ

โมโนโครมสามารถแสดงผลได้เฉพาะข้อความ (text)  เท่านั้น และแสดงได้เพียงสีเดียวไม่สามารถแสดง

รูปกราฟิกใด ๆ ได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของการ์ดแสดงผลเอง ปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีใช้กันแล้ว เพราะ

ว่าชอฟต์แวร์ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การแสดงผลกราฟิกและสีสันที่สวยงาม

         CGA  (Color Graphics Adapter)  เป็นการ์ดรุ่นถัดมาของไอบีเอ็มที่สามารถแสดงได้ทั้งข้อความ

และรูปภาพ  โดยสีที่แสดงจะได้สูงสุดถึง  16  สี  แต่จะขึ้นอยู่กับความละเอียดในการแสดงผลด้วยกล่าว

คือ ถ้าความละเอียดในการแสดงผลมาก จำนวนสีที่แสดงได้ก็น้อยลง เช่น ถ้ามีความ-ละเอียดในการ

แสดงผลสูงสุด  640 X 200  จุด จะสามารถแสดงสีได้เพียง  2  สีเท่านั้น คือขาวกับดำแต่ถ้าเป็นความ

ละเอียด  320 X 200  จุด ก็จะแสดงสีได้  4  สี  เป็นต้น  ทั้งนี้เนื่องมาจากหน่วยความจำบนการ์ดมีอยู่อย่าง

จำกัดหน่วยความจำที่ว่านี้ก็คือวิดีโอแรมที่ใช้เก็บรูปภาพบนจอ  ถ้านำหน่วยความจำนี้ไปใช้ในการเก็บสี

จำนวนมากแล้ว ก็จะเหลือหน่วยความจำที่ใช้เก็บรูปภาพได้น้อยลงดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  ถ้าความละเอียด

ในการแสดงผลสูงขึ้นจำนวนสีที่แสดงได้ก็จะน้อยลง

          เฮอร์คิวลิส  (hercules)  สืบเนื่องจากข้อจำกัดของการ์ดแสดงผลแบบ  MDA  ที่แสดงผลได้เฉพาะ

ข้อความบนจอโมโนโครมเท่านั้น  การที่จะเปลี่ยนไปใช้การ์ดแสดงผลแบบ  CGA เพื่อให้สามารถแสดง

รูปภาพที่เป็นกราฟิกได้ก็จำเป็นต้องไปหาซื้อจอสีมาใช้  ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าจอโมโนโครมมากพอ

สมควร  ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นพัฒนาการ์ดแสดงผลอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้สามารถแสดงผลทั้งข้อความ

และรูปภาพบนจอโมโนโครมได้ การ์ดที่ว่านี้ก็คือการ์ดเฮอร์คิวลิส ซึ่งคิดค้นโดยบริษัทเฮอร์คิวลิส

เทคโนโลยี  แล้วการ์ดแสดงผลแบบเฮอร์คิวลิสหรืออาจจะเรียกกันในชื่อโมโนโครมกราฟิกอะแดปเตอร์

ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เนื่องจากหน่วยความจำบนการ์ดสูงมากถึง  64  กิโลไบต์  ซึ่งเพียงพอสำหรับการทำเป็น

วิดีโอแรมทั้งสำหรับการใช้งานในโหมดของข้อความและรูปภาพพร้อม ๆ กัน ซึ่งปัจจุบันนี้การ์ดชนิดนี้ได้

กลายเป็นมาตรฐานสำหรับจอโมโนโครมไป



          EGA  เมื่อชอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกต้องการอุปกรณ์แสดงผลที่มีความละเอียดสูงขึ้นและแสดงสี

ได้มากขึ้น  ซึ่งการ์ดแสดงผลแบบ  CGA  ไม่สามารถรองรับงานแบบนี้ได้ ไอบีเอ็มจึงได้ออกการ์ดแสดง

ผลแบบใหม่ที่เรียกว่า  EGA  (Enhanced Graphic Adapter)  การ์ดรุ่นใหม่นี้มีความสามารถที่สูงขึ้นกว่า

การ์ด  CGA  มากนัก กล่าวคือ มีหน่วยความจำบนการ์ด  128  กิโลไบต์ หรืออาจจะติดตั้งได้ถึง  256  กิโล

ไบต์ ความละเอียดในการแสดงผลสูงถึง  640 X 350  จุด แสดงสีได้พร้อมกัน  16  สีจากที่มีให้เลือก  64  

สี การ์ดรุ่นใหม่นี้ต้องใช้กับจอ  EGA  ของไอบีเอ็ม หรืออาจจะเป็นจอสียี่ห้ออื่นที่สนับสนุนการ์ดแสดงผล

แบบ  EGA ก็ได้การ์ดแสดงผลแบบ  EGA  นี้  นอกจากจะทำงานในลักษณะที่มีความละเอียดและจำนวน

สีสูงกว่าการ์ด  CGA  แล้ว ยังสามารถทำงานเลียนแบบหรือแทนการ์ดแบบ  CGA  ได้อีกด้วยบรรดา

ขอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้แสดงผลออกมาทางการ์  CGA  สามารถนำมาใช้กับ  EGA ได้ด้วยแต่อาจ

จะไม่เสมอไป  เนื่องจากวงจรภายในของการ์ด  EGA  มีชิปไอซีที่แตกต่างไปจากการ์  CGA ทำให้การ

ทำงานภายในแตกต่างกัน  โดยทั้งนี้ภายในการ์ด  EGA  จะมีโปรแกรมไบออสที่คอยควบคุมการทำงาน 

โปรแกรมตัวนี้จะจัดการปรับการทำงานกับวงจรภายในตการ์ด  EGA  ให้เข้ากับโปรแกรมที่ทำมาสำหรับ

การ์ด  CGA  ได้ แต่ทั้งนี้โปรแกรมนั้น ๆ จะต้องส่งข้อมูลออกทางจอภาพผ่านไบออสนี้เท่านั้น  ถ้า

เป็นการเขียนข้อมูลลงวิดีโอแรมโดยตรงเพื่อแสดงผลโดยไม่มีการเรียกใช้ไบออสก็จะเกดความไม่เข้า

กันทำให้ใช้งานไม่ได้การ์ดขนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยหนึ่ง  จนทำให้มีผู้ผลิตการ์ดขนิดนี้

ตามออกมาอย่างมากมาย  โดยพยายมปรับปรุงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าของไอบีเอ็ม เช่น ทำให้มี

ขนาดเล็กลงความละเอียดในการแสดงผลที่สูงขึ้น และในราคาที่ต่ำกว่าของไอบีเอ็ม

          PGA (Professional Graphic Adapter)  เป็นการ์ดแสดงผลอีกรุ่นหนึ่งของไอบีเอ็ม ที่มีความ

สามารถในการแสดงผลสูงกว่า  EGA  โดยสามารถแสดงสีได้  256  สีพร้อมกันจากทั้งหมด 4096  สี  

ความละเอียดถึง  640 X 480 จุด การ์ดชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับจอ  PGA  โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับ

ใช้งานกับโปรแกรมที่เน้นทางด้านกราฟิก เช่น CAD/CAM หรือโปรแกรมวาดรูปต่าง ๆ ถ้าจะสังเกตให้ดี 

คุณภาพของการ์ดนี้จะพอ ๆ กับการ์ดแบบ  EGA  ของบริษัทอื่นที่ไม่ใช่ไอบีเอ็ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความ

ละเอียดหรือสีดังนั้นการ์ดขนิดนี้จึงไม่แพร่หลายเท่าที่ควร โดย-เฉพาะในบ้านเราจะไม่ค่อยได้ยินชื่อ

การ์ดชนิดนี้กันมากนัก

          MCGA (Multi-Color Graphics Array)  เป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ที่ไอบีเอ็มออกมาเพื่อให้ใช้งาน

กับเครื่อง  PS/2  ในรุ่นเล็ก ๆ (model  25  และ  30)  ความสามารถในการแสดงผลจะสูงกว่าEGA  คือ

ความละเอียดสูงถึง  640 X 480  จุด แสดงสีได้  2  สี  แต่ถ้าเป็นโหมดความละเอียด320 X 200  จุด จะ

สามารถแสดงสีได้ถึง  256  สี  การ์ดชนิดนี้สามารถทำได้ทุกอย่างเทียบเท่ากับการ์ด แต่จะยกเว้นเพียง

บางโหมของ  EGA  เท่านั้น


          VGA (Video Graphics Array)  เป็นการ์ดแสดงผลสำหรับเครื่อง  PS/2  อีกรุ่นหนึ่งที่มีความ

สามารถสูงกว่า  MCGA  โดยสามารถแสดงสีได้ถึง  16  สี  ที่ความละเอียด  640 X 480  จุดหรือจะเลือก

ความละเอียด  320 X 200 จุด  ซึ่งเลือกสีได้มากถึง  256  สี การออกแบบการ์ด  VGAนั้นมุ่งเน้นไปที่ให้มี

ความสามารถในการรองรับการแสดงผลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น  CGA  หรือ  EGA  ดังนั้น  ชอฟต์แวร์ที่

เขียนขึ้นมาเพื่อให้ใช้กับการ์ดแสดงผลแบบ  CGA และ EGA จึงสามารถนำมาใช้กับ  VGA  ได้ และ

คุณภาพของภาพก็จะดีกว่าด้วย การ์ดแสดงผลแบบ  VGA  นี้ได้รับความนิยมอย่างสูง จนมีบรรดาผู้ผลิต

รายอื่น ๆหันมาผลิตการ์ดที่คอมแพตกับไอบีเอ็มมากขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจุบัน  VGA  ได้กลายเป็น

มาตรฐานของการแสดงผลไปแล้ว  โดยจะเห็นได้จากเครื่องพีซีหลาย ๆ ยี่ห้อได้สร้างการ์ด  VGA  ติดมา

กับเมนบอร์ดเลย  ทำให้มาตรฐานการแสดงผลเป็นแบบ  VGA  ไปโดยปริยาย



          Super  VGA  มักจะมีการกล่าวถึง  Super  VGA  .ในทางช่วยส่งเสริม  เช่น  มีสีมากขึ้นหรือมีความ

ละเอียดสูงขึ้น ซึ่งช่วยให้มั่นใจในความเข้ากันได้กับ  VGA  คำแนะนำของ  VESA  คือจะต้องมีความ

ละเอียด  800 X 600  และ  16  สี  แต่ผู้ผลิตมักจะผลิตบอร์ดที่มี256  สี  หรืออาจจะกล่าวถึงบอร์ดที่ให้

ความละเอียด  1,024 X 768  ว่าเป็น  Super  VGA อย่างไรก็ดี  ก็มีปัญหาคือจำนวนมาตรฐานของการ

แสดงภาพกราฟิกที่มีอยู่มากมาย มาตรฐาน VGA  เองจะรวมโหมดการแสดงผลไว้  17  โหมด  ซึ่งเป็นวิธี

การต่าง ๆ ในการแสดงภาพบนจอโหมดเหล่านี้ส่วนมากจะเข้ากันได้ย้อนหลังกับมาตรฐานก่อน ๆ ที่มี

ความสำคัญมากคือ colorgraphics adapter (CGA)  enhanced graphics adapter  (EGA)  และ  

monochrome

          display adapter (MDA) ถ้าตัดมาตรฐานก่อน ๆ ออก  ก็จะเหลือ Super VGA  (ใช้เป็นมาตรฐานที่

ไม่ค่อยมาตรฐานนัก)

          อะแดปเตอร์  8511/A  ของ  IBM  สำหรับเครื่อง  MCA  และมาตรฐาน  extended graphics array  

(XGA)  ของ  IBM  มาตรฐานเหล่านี้ทั้งหมดให้สีหรือความละเอียดสูงกว่า  VGA  นั่นไม่ได้รวมอะแดป

เตอร์ต่าง ๆ ที่ใชิป continonous edge graphics (CEG) ใหม่  ซึ่งกล่าวไว้ว่าจะให้สีมากกว่า  740,000  สีบน

จอภาพของคุณในเวลาเดียวกัน และมากเป็นพิเศษดได้แม้แต่บนการ์ดความละเอียด  1,600 X 1,200  จุด

ก็ยังสามารถให้สีได้มากกว่าล้านสีก่อนที่คุณจะผลุนผลันออกไปซื้ออะแดปเตอร์แสดงผล  มีสิ่งที่ควรจำ

ไว้หนึ่งข้อนั่นคือชอฟต์แวร์  ชอฟต์แวร์ใหม่ส่วนมากจะรวมส่วนสนับสนหุนสำหรับโหมด  VGA  มาตรฐาน

กับการ์ดแสดงผลอื่น ๆ คุณได้แต่หวังว่าผู้ผลิตจะรวมไดรเวอร์ สำหรับชอฟต์แวร์ให้ด้วย  เรื่องนี้อาจจะไม่

เป็นปัญหา

          ถ้าคุณใช้  Lotus 1-2-3  Auto CAD, Windows  หรือ  Ventura Publisher  นอกเหนือจากพวกนี้ คุณ

จะต้องมั่นใจว่าผู้ผลิตจัดเตรียมไดรเวอร์ที่คุณต้องการให้ก่อนที่คุณจะซื้อการ์ดใหม่เรื่องแบบนี้มีการ

เปลี่ยนแปลงทุกวัน ดังนั้นถามไว้เสมอว่ารวมไดรเวอร์ให้ด้วยแล้วเรื่องสำคัญที่ออกมาอีกเรื่องหนึ่งคือ  

จอภาพที่คุณมีอยู่สามารถที่จะสนับสนุนความละเอียดที่สูงกว่าซึ่งมีอยู่ในการ์ดหรือไม่  ถ้าคุณมีจอภาพ

แบบ  CGA  หรือ  EGA  คอมแพติเบิล คุณมีโอกาสที่จะต้องใข้จอภาพใหม่เพื่อเอาส่วนดีของ  VGA  

หรือบอร์ดแสดงผลที่ดีกว่ามาใช้งานจอภาพรุ่นเก่าใช้ดิจิตอลอินเตอร์เฟช  ในขณะที่  VGA  ต้องการแอ

นะล็อกอินเตอร์เฟช  มีเพียงจอภาพหลายความถึ่เท่านั้นที่ให้คุณใช้ได้ทั้งระบบดิจิตอลและแอนะล็อก แต่

ก็ไม่ใช่ว่าจอภาพหลายความถี่ทุกเครื่องจะทำงานกับการ์ด  VGA  ได้  จอภาพต้องทำงานได้ภายใน

ความถี่ที่สแกนในแนวนอนและแนวตั้งที่มาตรฐานต้องการและคุณตั้งใจจะใช้ (ดูบทที่  4  เรื่องจอภาพ

และความต้องการต่าง ๆ) 8514/A  ชื่อ  8514  นั้นเป็นชื่อจอภาพรุ่นหนึ่งของไอบีเอ็ม ในปี  ค.ศ.  1987 ดัง

นั้น การ์ดแสดงผลแบบนี้จึงใข้เฉพาะในเครื่องตระกูล  PS/2  รุ่นสูง ๆ ของไอบีเอ็มเท่านั้น การ์ด

          แสดงผลชนิดนี้จะมีความละเอียดที่สูงกว่า  VGA  ขึ้นไปอีก โดยสามารถแสดงสีได้สูงสุด  256  สี

ที่ความละเอียด  1024 X 768  จุด การ์ดรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ไอบีเอ็มหมายมั่นปั้นมือจะให้มาแทน  VGA  ใน

เครื่อง  PS/2รุ่นใหม่ ๆ แต่ข้อเสียที่ให้อภัยไม่ได้ของ  8514/A  ก็คือ ไม่คอมแพทิเบิลกับ  VGA  ทำให้

ชอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาบน  VGA  นำมาใช้กับ  8514/A  ได้น้อยมาก ดังนั้นไอบีเอ็มจึงได้พัฒนา

การ์ดแสดงผลแบบใหม่ที่จะมาใช้กับเครี่อง  PS/2  รุ่นสูง ๆ โดยใช้ชื่อว่า  XGA

     
   XGA  ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานใหม่ของการแสดงบนเครื่อง  PS/2  รุ่นใหม่  เช่น  ในโมเดลสูง ๆ การ์ด

ชนิดนี้จะมีความคอมแพตกับ  VGA  เต็ม  100 %  จึงสามารถนำชอฟต์แวร์ของเดิมมาใช้ได้ทันที่ 

นอกจากจะคงความคอมแพตแล้ว  XGA  ยังได้เพิ่มความสามารถพิเศษหลาย ๆ อย่างเข้าไปอีก  จึง

ทำให้  XGA  เหมาะสำหรับการติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ดของเครื่องPS/2  รุ่นสูง  ๆ  จึงอาจกล่าวได้ว่า  

XGA  เป็นการรวมเอาความสามารถของ  VGA  และ 8514/A  เข้าไว้ด้วยกัน การพัฒนาการ์ด  XGA  นั้น

มุ่งหน้นให้คงความคอมแพตกับ  VGA  เพื่อให้ชอฟต์แวร์เดิม ๆ ที่พัฒนามาบน  VGA  สามารถนำมาใช้

กับ  XGA  ได้ทันที  นอกจากนั้นยังได้เพิ่มการควบคุมบัสแบบใหม่เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากบัส

แบบ  MCA  ได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งใช้

         ฮาร์ดแวร์เคอร์เชอร์ที่ให้ผู้ใช้ใช้งานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น  รวมทั้งไอบีเอ็มยังได้จัดเตรียมราย

ละเอียดการใช้งานและคุณสมบัติของ  XGA  เอาไว้อย่างละเอียด  ซึ่งผู้พัฒนาชอฟต์แวร์สามารถนำ

ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการเขียนแอพพลิเคชันเพื่อรองรับการทำงานกับ  XGA  ได้ การทำงานของ  XGA  

จะแบ่งออกเป็น  3  แบบที่ต่างกัน คือ  VGA  ปกติ  VGA

          แบบ  132  คอลัมน์และ  XGA  การทำงานในโหมดของ  VGA นั้นจะเหมือนกับ  VGA  การ์ดทุก

ประการ เพียงแต่เพิ่มเติมอินเทอร์นัลไรท์แคช  internal write cache)  ที่ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ให้กับซีพียู

ไว้สำหรับพักข้อมูลในขณะที่ทำการเขี่ยนข้อมูลลงบนจอภาพ ทำให้การทำงานของ  XGA  สูงกว่าการ์ด  

VGA  การ์ดโดยทั่วไปจากการทดสอบของไอบีเอ็มพบว่าเมื่อ  XGA  ทำงานในแบบการ์ด  VGA  จะเร็ว

กว่าการ์ด  VGA  แบบเดิมถึง  20 %  ในดอส หรือเร็วขึ้นประมาณ  50  %  ในไมโครชอฟต์วินโดว์  

นอกจากความเร็วที่สูงขึ้นแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะยังคงเหมือนกับ  VGA  ทุกประการสำหรับการทำงานใน

โหมดของ  XGA  นั้น จะมีความละเอียดและจำนวนสีที่มากกว่าการ์ด  VGA  โดยจะมีจำนวนสีถึง  

65,536  สี  ความละเอียดสูงสุด  1024 X 768  จุด ความสามารถอื่นที่เพิ่มเข้ามาคือฟังก์ชันการควบคุม

บัส 
ความเร็วในการวาดภาพสูงขึ้น และมีฮาร์ด

          แวร์เคอร์เชอร์ พร้อมทั้งหน่วยประมวลผลร่วมทางด้านกราฟิกทำให้สามารถสร้างภาพกราฟิกได้เร็ว

ขึ้น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานด้านกราฟิกที่ต้องการความเร็วและความละเอียดสูง ๆความละเอียดของ

กราฟิกใน  XGA  เลือกได้จาก  640 X 480  จุด หรือ  1024 X 768  จุดซึ่งจะต้องมีหน่วยความจำในส่วน

ของวิดีโอแรมขนาด  1  เมกะไบต์  เพื่อรองรับความละเอียดและจำนวนสีระดับนี้ให้ได้ปัญหาอย่างหนึ่ง

ของการพัฒนาโปรแกรมในแบบมัลติทาสกิง ก็คือ  การเก็บสภาวะ

          ของจอเมื่อมีการสวิตช์ไปมาระหว่างโปรแกรมต่าง ๆ  XGA  ได้แก้ปัญาหานี้โดยออกแบบให้มี

ฟังก์ชันในการเก็บสภาวะของจอและการดึงสภาวะเดิมกลับมาไว้ในตัว ทำให้การพัฒนาโปรแกรมบันมัลติ

ทาสกิงทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น  XGA  ยังสามารถกำหนดหน่วยความจำบนจอภาพให้มีตำแหน่งตรง

กับหน่วยความจำของซีพียูเพื่อเให้ซีพียูสามารถใช้หน่วยความจำนั้นวาดภาพและแก้ไขได้โดยไม่ต้องคัด

ลอกไปมาระหว่างจอภาพกับหน่วยความจำ เป็นผลให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่าปกติขึ้นอีกมาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำตัว

แนะนำตัว ชื่อ ภราดร นามสกุล พวงเพ็ชร์  ชื่อเล่น อาร์ม เกิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2542 อายุ 18 ปี ศาสนา พุทธ สัญชาติ ไทย ...