เมนบอร์ดคืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นมีส่วนประกอบมากมายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ทุกชิ้นมีความสำคัญ
ในหน้าที่ของอุปกรณ์นั้น ๆแต่มีอุปกรณ์หนึ่งที่เปลี่ยนเสมือนร่างกายที่คอยเป็นตัวประสานให้สมองสั่งงาน
ให้กับส่วนต่างๆได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ เมนบอร์ด (Mainboard) สมองก็คือ ซีพียู (CPU) และส่วนประกอบ
ต่างๆก็คือ การ์ดจอ ฮาร์ดดิกส์ และอื่นๆ
เมนบอร์ดคืออะไร
เมนบอร์ด (Mainboard) นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน อาทิ มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็ม
บอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า โมโบ (mobo) ซึ่งเป็นคำ
ย่อจาก motherboard
เมนบอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่ง
การให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำ
ถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดย
สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานใน
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ ATX (Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการ
พัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
– PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
– AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
– ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
– ETX ใช้ใน embedded systems
– LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่
ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA
– WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ในปัจจุบันมาตรฐานเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ก็มีอยู่ 2 แบบคือ ATX และ เมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็น
เมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กจะสังเกตได้ว่าขนาดเมนบอร์ดจะเล็กกว่าเมนบอร์ด
ทั่วไป ซึ่งเมนบอร์ดรุ่น Mini – ITX นี้จะใช้เพื่อความบันเทิงเสียเป็นส่วนใหญ่
เมนบอร์ดทำหน้าที่อะไร
เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่มีความสำคัญซึ่งมีหน้าที่คอยควบคุมและจัดการให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเมนบอร์ดจะรับส่งข้อมูลต่าง ๆจากตัวอุปกรณ์ต่างๆไปยังซีพียู และรับคำสั่งที่ได้
รับการประมวลผลจากซีพียู นำไปส่งให้อุปกรณ์นั้นๆเพื่อให้การทำงานต่างๆไม่ติดขัด
ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง
อย่างที่รู้กันว่าเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ซึ่งประโยชน์ของเมนบอร์ดนั้นมีหลายอย่างด้วย
กัน เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในเครื่อง ถ้าเมนบอร์ดไม่มี
คุณภาพอาจจะทำให้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆเสียหายได้
ซึ่งถ้าเมนบอร์ดที่ใช้งานมีเสถียรภาพและคุณภาพที่ดี จะทำให้การทำงานในแต่ละครั้งไหลลื่น อุปกรณ์
ทุกอย่างจะทำงานอย่างไม่มีสะดุด เป็นผลให้เพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วย
การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานเมนบอร์ดที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็เพื่อป้องกันจุดด้อยที่ต้องระวังไม่ให้
เกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเมนบอร์ดมากที่สุด จุดที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของความร้อน สาเหตุที่
ปัจจุบันนิยมใช้มาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ก็เพราะว่ามีการวางตำแหน่งซีพียูและ
อุปกรณ์ต่างๆให้สามารถระบายความร้อนได้ดีนั้นเอง
เมนบอร์ด ( Mainboard )
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ
อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วย
ความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัสบนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย เมนบอร์ดที่ใช้งานใน
ปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไป
มากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่
ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม
ชนิดของเมนบอร์ด
แบบ ATX, Micro ATX และ Flex ATX
เมนบอร์ดแบบ ATX นั้นถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่มีใช้กันมานานและได้รับความนิยมอย่างสูงตั่งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้
เหมาะสมกับเคสขนาดเล็กที่จะช่วยให้ประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย โดยลดจำนวนบางอย่างเช่น PCI Slot
บนเมนบบอร์ดลงไปพร้อมกับนำเอาอุปกรณ์บางอย่างเช่น
การ์ดเสียง มาบรรจุลงบนตัวเมนบอร์ดอยู่ในรูปแบบขอออองชิปเสียงทำให้กลายเป็นเมนบอร์ดขนาด
กะทัดรัดที่มีคุณสมบัติต่างครบถ้วน เช่น เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
และ Flex ATX
เมนบอร์ดแบบ ATX
เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมอย่างสูงโดยทั่วไปจะมีสล็อตแบบ PCI 5-6 สล็อต , AGP 1 สล็อต และ
ช่องเสียบ RAM ขึ้นอยู่แต่ละ ยี่ห้อ เป็นต้น รวมถึงคอนเน็กเตอร์ต่างๆก็แยกเป็นสีติดอยู่กับตัว เมนบอร์ด
ทางด้านหลังเลย
เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
เป็นเมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้ต้องการความประหยัด และต้องการนำไปใช้แบบทั่ว ๆ ไปอุปกรณ์ส่วนใหญ่มัก
เป็นแบบออนบอร์ด เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดแลน
จึงลดจำนวน สล็อต PCI เหลือแค่ 3-4 สล็อตเท่านั้น
เมนบอร์ดแบบ Flex ATX
เป็นเมนบอร์ดสำหรับเครื่องขนาดเล็กกะทัดรัด ทำให้ประหยัดเนื้อที่บนโต๊ะ โดยลดลงจำนวนสล็อต
PCI
ลงอีกจนเหลือเพียงแค่ 2-3 สล็อตเท่านั้น อุปกรณ์ที่ใช้แทบ
ทุกอย่างจะเป็นแบบออนบอร์ด ปัจจุบันจะเป็นที่นิยมใช้กันมากตามบริษัทหรือหน่วยงานเอกชนต่างๆที่
ต้องการประหยัดพื้นที่ในการทำงาน
เมนบอร์ดแบบ BTX
BTX (Balanced Technology Extended) เป็น Form Factor หรือรูปแบบของเมนบอร์ด มาตรฐานใหม่
ของ
อินเทลที่กำลังจะออกมาในเร็วๆนี้ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วย Socket T หรือ LGA 755 แบบใหม่สำหรับ
ซีพีอยู่ในตระกูล Prescott แล้ว ก็ยังพ่วงเทคโนโลยีใหม่เช่นการใช้หน่วยความจำ DDR II และสล็อต
แบบ
PCI Express ซึ่งทุกออกแบบมา แทนสล็อตเดิมๆแบบ PCI และ AGP โดย PCI Express x1 ( ที่มา
แทนที่
PCI เดิม ) จะมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงถึง
250 MB/s ในแบบทิศทางเดียว (Half-Duplex) หรือ 500MB/s ในแบบสองทิศทาง (Half-Duplex) ขณะ
ที่
PCI Slot เดิมนั้นมีอัตราการรับส่งข้อมูลเพียง
132 MB/s เท่านั้น ส่วน PCI Express x16( ที่ออกแบบให้มาแทน AGP 8x ในปัจจุบัน ) จะมีอัตรารับส่ง
ข้อมูลถึง 4 GB/s เท่านั้น (Half-Duplex) หรือ
8 GB/s(Full-Duplex) ขณะที่ AGP 8x เดิมนั้นมีอัตราการรับส่งข้อมูลเพียง 2GB/s เท่านั้น
เมนบอร์ดแบบ BTX ได้ปรับปรุงการระบายความร้อนภายในตัวเครื่องรวมถึงซีพียูด้วยโดยแยกจุดที่เกิด
ความร้อนสุงออกจากัน และเพิ่มตัวกระจายความร้อน (Thermal Module) ซึ่งอาจมีตัวยืดกับเคสหรือ
SRM (Support and retention Module) ด้วย
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
socket คือส่วนที่ใช้สำหรับซีพียู ซึ่งแต่ละเมนบอร์ดจะออกแบบ ซ๊อกเก็ต ให้้หมาะสมกับซีพียูที่เมนบอร์ด
นั้นรองรับ
ID-Stecplatz คือช่องสำหรับเสียบสายแพร
RAM คือช่องสำหรับเสียบเมมโมรี่
EXterne Schittstellen พอร์ตสำหรับต่ออุปกรณ์ภายนอกเช่น ปร้นเตอร์
Disketten-Laufwerk คือช่องสำหรับเสียบสายแพร สำหรับเสียบกับฟล๊อปปี้ดิสก์
Stromstecker ช่องสำหรับเสียบสาย ซึ่งมีสองแบบคือ สายแบบ AT และ สายแบบ ATX
Chipsatz คือ ชิปที่รวบรวมคำสั่งเพื่อสนับสนุนการทำงานของเมนบอร์ด
AGP-Steckplatz คือ สล๊อตสำหรับเสีบยการ์ดแสดงภาพแบบชนิด APG
Batterie คือแบตเตอร์สำหรับเลี้ยงไบออส เมื่อเวลาปิดเครื่อง
PCI-Steckplatz คือ สล๊อตสำหรับเสียบการ์ดแบบ PCI
ISA-Steckplatz คือสล๊อตสำหรับเสียบการ์ดแบบ ISA ซึ่งในปัจจุบันเมนบอร์ดใหม่ๆจะไม่มีสล๊อตนี้
ซิปเซต
Chipset เป็นชุดหรือกลุ่มของไมโครชิป ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานเป็นหน่วย ในการทำงานฟังก์ชันที่
เกี่ยวข้องกัน chipset ที่เป็นตัวอย่างได้แก่ Intel 430HX PCI set สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น Pentium
II ในตัว Chipset ได้ให้ตัวควบคุมบัส PCI และออกแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ เพื่อการหาค่า
เหมาะสม ของการส่งผ่านทรานแซคชัน (transaction) ระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์, PCI และ ISA ให้เร็ว
ขึ้น ทำให้ระบบมัลติมีเดียมีการทำงานที่ราบเรียบ รวมถึงการย้อนกลับ และการประยุกต์
สล๊อต
Slot PCI Express เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่จะนำมาใช้แทนสล็อต PCI และ AGP การ
ออกแบบตามมาตราฐาน PCI Express จะเป็นลัษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point) โดนมีตัว
ควบคุมการรับส่งข้อมูลขึ้นมา ซึ่งตัวควบคุมนี้เรียกว่า สวิตช์ จะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดที่
เชื่อมต่อกันทาง บัส นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้สวิตช์นี้สามารถติดต่อกับหน่วยความจำหลักของ
เครื่องได้โดยตรง ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นด้วย ข้อดีของการเปลี่ยนมาใช้ บัสแบบนี้ ก็
เพราะมีความเร้วในการรับส่งข้อมูลเริ่มต้นที่ 250 MB/s หรือ x1 และยังสามารถปรับขนากความกว้างของ
บัสให้มากขึ้นตามต้องการได้อีกด้วย ซึ่งสล็อตสำหรับการ์ดแสดงผลจะใช้มาตราฐาน PCI Express x16
ทำให้มีความเร็วสูงถึง 4 GB/s และล่าสุดกับ PCI Expree 2.0 ซึ่งปรับเพิ่มความเร็วบัส x16 ให้มีความเร็ว
สูงถึง 8 GB/s
การเลือกใช้งานเมนบอร์ด
1. การรับประกันของตัวเมนบอร์ด ควรพิจารณาระยะเวลารับประกันเมนบอร์ดเป็นหลัก เนื่องจากว่า
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายง่ายเพราะต้องรับพลังงานไฟฟ้าโดยตรงและต้องแจกจ่าย
ไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์อื่นๆอยู่ตลอดเวลา
2. ตระกูลของซีพียูที่จะเลือกใช้งาน
เมนบอร์ดในปัจจุบันนี้แบ่งค่ายของการทำงานกับซีพียูอย่างชัดเจน เช่น ถ้าเลือกใช้งานซีพียูของอินเทล
ก็จะต้องใช้งานซีพียูนั้นตลอดไปไม่สามารถใช้งานซีพียูยี่ห้ออื่นได้ เพราะฉะนั้นควรตัดสินใจให้เด็ดขาด
ว่าจะเลือกใช้งานซีพียูยี่ห้อใด ซึ้งแต่ละยี่ห้อก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
3. มีการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น
ควรอ่านคู่มือเมนบอร์ดก่อนซื้อทุกครั้ง เพราะจะทำให้ทราบถึงเสปกที่แท้จริงของเมนบอร์ด ไม่ควรฟัง
จากพนักงานขายเท่านั้น เพราะเทคโนโลยีของเมนบอร์ดมีการเปลี่ยนแปรงเร็ว ควรพิจารณาเลือกซื้อ
เมนบอร์ดที่รองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
4. จำนวนของพอร์ตและสล๊อต
เมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีพอร์ต และสล๊อตไม่เท่ากัน ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ทมีสล๊อตไม่เพียงพอกับ
ความต้องการอาจเป็นปัญหาในการเพิ่มการ์ดต่างๆได้
5. ควรเลือกใช้เมนบอร์ดมือหนึ่งเท่านั้น
ไม่ควรใช้เมนบอร์ดเก่าหรือเมนบอร์ดมือสองถ้าไม่จำเป็นจริงๆเนื่องจากเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เสียง่าย
และมีอายุการใช้งานจำกัด หากนำมาใช้อาจจะทำให้เดครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้ ถ้าเลี่ยงไม่
ได้จริงๆ ควรจะหาเมนบอร์ดที่มีอายุรับประกันนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพาเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)
อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ
เพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆ
ใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power
Supply)นั่นเองเพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซี
ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซี
นั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลัง
ถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น