พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)
พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)
เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่อง
สี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่าย
ไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆ
รวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับ
ความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดัน
ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟ
ประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพา
เวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความ
ต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC
Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแส
ไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำ
นวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้
ด้วย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างรายละเอียดจากเพาเวอร์ซัพพลายยี่ห้อ Enermax ตะกูล Coolergiant รุ่น
EG701AX-VH(W) ที่ให้กำลังไฟโดยรวมประมาณ 600 วัตต์ (Watt) ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังนี้
แรงดันไฟ(DC Output) +3.3V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด และการ์ดจอ
เป็นหลัก
แรงดันไฟ(DC Output)+5V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด, แรม และอุปกร
ดิสก์ไดร์รวมถึงพอร์ต ต่างๆ
แรงดันไฟ(DC Output)+12V1และ +12V2 ปริมารกระแสไป (Current Output) 18A ใชั้กับ ซีพียู, เม็นบ
อร์ด, มอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงระบบระบายความร้อนต่างๆ ในที่นี้มาให้ 2 ชุด
แรงดันไฟ(DC Output) -12V ปริมารกระแสไฟ (Current Output) 0.8 A ใช้ร่วมกับไฟ +12V เพื่อจ่ายให้
กับอุปกรร์ต่างๆ
แรงดัน(DC Output) +5VSB ปริมารกระแสไฟ(Current Output) 2.5 A เป็นแรงดันไฟสำรอง (Standby
Voltage) ที่ใช้เปิดหรือปลุกการทำงานของเครื่องให้ตื่นขึ้นจากสภาวะเตรียมพร้อม (Stanby)
ส่วนประกอบต่างๆของพาวเวอร์ซัพพลาย
4 diodes bridge rectifier
4 diodes bridge rectifier (Photo credit: Wikipedia)
วงจร Bridge Rectifier
– AC Input เป็นส่วนขาเข้าโดยส่วนนี้จะต่อเข้ากับปลั๊กไฟ โดยกระแสไฟที่เข้ามาจะเป็นไฟฟ้ากระแส
สลับที่มีแรงดันขนาด 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต – ฟิวส์(Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลาย
ทั้งหมดในกรณีที่มีกระแสไฟเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์กะจะตัดกระแสไฟในทันที – วงจรกรองแรงดัน
ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟที่เข้ามาไม่ให้มีการกระชากของไฟ ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่าก็ได้ เพราะหากเกิด
การกระชากของกระแสไฟแล้วอาจจะทำให้วงจรต่างๆในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายได้ -ภาคเร
คติไฟเออร์(Rectifier) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยกระแสไฟจะวิ่งผ่าน
วงจรไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) เพื่อแปลงไฟกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง และจาก
นั้นตัวเก็บประจุ (Capacitor) ในวงจรจะทำหน้าที่ปรับแรงดันให้มีความเรียบขึ้น โดยจะมีวงจรสวิตชิ่ง
(Switching) เป็นตัวควบคุมว่าควรจะจ่ายไฟให้กับวงจรได้หรือยัง -หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) จะ
ทำการแปลงแรงดันที่ได้มาจากวงจรเรคติไฟเออร์ เพื่อให้มีขนาดแรงดันที่ลดลงมาก่อนที่จะส่งต่อไปยัง
วงจรควบคุมแรงดัน -วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) ทำหน้าที่กำหนดค่าของแรงดันให้เหมาะสม
กับอุปกรณ์แต่ละตัว -วงจรควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมวงจรสวิตชิ่งว่าจะให้ส่งแรงดันไฟที่ได้มาจากวงจรเร
คติไฟเออร์ไปยังหม้อแปลงหรือไม่ โดยจะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกบนเมนบอร์ดอีกทอดหนึ่ง
การเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนที่ละเลยกันมากที่สุดในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับการประกอบเครื่อง
คอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่เราเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เราแค่คำนึงถึงความเร็วของซีพียู เมนบอร์ด ขนาด
หน่วยความจำ ขนาดฮาร์ดดิสก์ และลืมเรื่องเกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พาว
เวอร์ซัพพลายคือผู้ที่จัดหา “เชื้อเพลิง”สำหรับส่วนต่าง ๆ ของพีซีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง พาว
เวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพดีและมีความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างพอเพียงสามารถเพิ่ม
ความทนทานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหา
ระหว่างการทำงานหลายครั้ง ซึ่งยากต่อการแก้ไข พาวเวอร์ซัพพลายที่ชำรุดหรือคุณภาพแย่อาจทำให้
เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน พื้นที่บางส่วนของฮาร์ดดิสก์เสีย เกิดบลูสกรีนอันเลื่องชื่อ และอาจรวมไป
ถึงการที่คอมพิวเตอร์รีเซตตัวเองหรือทำงานค้างเป็นครั้งคราว และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องอีก
มากมาย
เราจะมาดูกันว่าเมื่อต้องเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายซักตัว เราต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง ไม่ใช่ดูแค่ว่าพา
วเวอร์ซัพพลายที่เราจะซื้อนั้นจ่ายไฟได้กี่วัตต์
หน้าที่ของพาวเวอร์ซัพพลาย
คอมพิวเตอร์ต้องใช้ไฟฟ้าจึงจะทำงานได้ แต่การที่จะนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ ไปต่อกับปลักไฟโดยตรง จัด
เป็นเรื่องที่ไม่สะดวกอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีตัวกลางคอยช่วยเหลือ ซึ่งก็คือพาวเวอร์ซัพพลาย
นั่นเอง จุดมุ่งหมายของพาวเวอร์ซัพพลายก็คือการแปลงกระแสไฟฟ้าจากปลักไฟ ไปเป็นโวลเตจที่ชิ้น
ส่วนต่างๆ ในคอมพิวเตอร์การใช้อยู่ ดังนั้นเมื่อคุณเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดัน 220 โวลต์ เข้าหาพา
วเวอร์ซัพพลายแล้ว สิ่งที่คุณได้รับกลับมาก็คือชุดของแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานที่สามารถจัดการได้ง่าย
กว่า นอกจากนั้นพาวเวอร์ซัพพลายยังมีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรงอีกด้วย
เนื่องจากกระแสตรงจะใช้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่ายกว่า
แรงดันไฟฟ้าสำคัญที่สุด 3 ระดับที่พาวเวอร์ซัพพลายสามารถสร้างออกมาให้เราใช้อยู่ก็คือ +3.3V, +5V
และ +12V โดยที่เอาต์พุทแบบ +3.3V และ +5V มักใช้กับพวกชิปต่างๆ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่
คล้ายคลึงกันในคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เอาต์พุทแบบ +12V ใช้กับกลไกในฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟซีดีรอมหรืออุ
ปกรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ถ้าหากเรามีเอาต์พุทแค่สองแบบน่าจะสะดวกมากกว่า นั่นก็คืออันหนึ่งสำหรับ
ส่วนที่เป็นกลไกและอีกส่วนหนึ่งสำหรับสวนที่เป็นชิป แต่ปัญหาก็คือเมื่อมีการเปิดตัวมาตรฐานใหม่ๆ ใด
ออกมา มาตรฐานนั้นมักต้องมีความเข้ากันได้กับเทคโนโลยีที่เดิมที่มีอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามเดี๋ยวนี้ชุดจ่ายไฟแบบ +12V ไม่ได้ใช้กับอุปกรณ์พวกที่เป็นกลไกเพียงอย่างเดียว บรรดา
ซีพียูรุ่นใหม่ รวมไปถึงพวกกราฟิกการ์ดที่มีความเร็วสูงก็มีความต้องการแรงดันไฟฟ้า +12V เพิ่มขึ้นมา
ด้วย
บริเวณด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายนอกจากจะมีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับสายไฟ AC แล้ว คุณยัง
จะเจอกับสวิทช์สำหรับใช้เลือกใช้ขนาดแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 110V และ 220V ด้วย สวิทช์ดังกล่าวมีอยู่
เพื่อช่วยให้เราสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลายในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ที่ใช้ไฟ 110V ได้ด้วย แต่ก็
มีพาวเวอร์ซัพพลายอีกหลายรุ่นที่ไม่จำเป็นต้องมีสวิทช์ดังกล่าว เนื่องจากมันสามารถเลือกโวลเตจที่
เหมาะสมได้เอง เทคโนโลยีแบบนี้ในบางครั้งเรียกว่า “wide input voltage” ก็มี
และเพื่อทำให้ตัวพาวเวอร์ซัพพลายเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวมันเองก็จำเป็นต้องมี
ระบบระบายความร้อนบางอย่างด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วระบบระบายความร้อนของพาวเวอร์ซัพพลายก็จะ
ประกอบไปด้วยฮีตซิงค์และพัดลม โดยพัดลมก็จะทำหน้าที่สร้างอากาศหมุนเวียนผ่านพาวเวอร์
ซัพพลาย และในพาวเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยพัดลมจะทำงานโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็น
หลัก เช่นถ้ามีความร้อนเพิ่มขึ้นความเร็วรอบของพัดลมก็จะสูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดลงความเร็วรอบใน
การหมุนของพัดลงก็จะลดลงด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้ถูกพัฒนาออกมาเพื่อช่วยลดเสียงรบกวนในการทำงาน
มาตรฐานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายของพีซีมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันหลายแบบ ซึ่งรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันนี้มันมา
จากเรื่องของมาตรฐานนั่นเอง นอกจากความต่างกันเรื่องขนาดและแบบของปลั๊กแล้ว ความต่างศักย์ที่
จ่ายออกมายังต่างกันอีกด้วย ดังต่อไปนี้
มาตรฐาน AT
พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT ใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ AT พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้จะจ่ายไฟด้วย
ความต่างศักย์สี่ค่าคือ +5V, +12V, -5V และ 12V และใช้หัวต่อแบบ 12 ขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแบ่งออก
เป็น
6 ขา 2 ชุด ปัญหาก็คือ หัวต่อ 6 ขาทั้งสองชุดนี้สามารถเสียบเข้าไปในด้านใดก็ได้ของหัวต่อ 12 ขาบน
เมนบอร์ด เพื่อป้องกันการผิดพลาด เราต้องจำให้ขึ้นใจว่าต้องติดตั้งหัวต่อแบบนี้โดยจัดวางในลักษณะ
ให้สายสีดำอยู่ตรงกลางของหัวต่อแต่พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT นั้นตกยุคไปได้หลายปีแล้ว
มาตรฐาน ATX
พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX จะใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ ATX โดยเหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน ATX นี้
เป็นมาตรฐานที่มีบทบาทมากที่สุดในเวลานี้แม้ว่าจะมีการเปิดตัวมาตรฐานของ BTX ออกมานานแล้ว
ก็ตาม แต่มาตรฐานของ ATX นั้นก็ยังคงอยู่และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกหลายเวอร์ชัน และเราก็ยัง
สามารถนำพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ไปใส่ในเคสแบบ BTX ได้ รวมไปถืงเมนบอร์ดแบบ ATX ก็
สามารถนำไปติดตั้งในเคสที่เป็น BTX ได้เช่นกัน เพราะทางผู้ผลิตเคสได้ทำช่องสำหรับยึดตำแหน่งของ
พาวเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดแบบ ATX เอาไว้ด้วย
สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ก็จะมีหลายรูปแบบที่เราจะกล่าวถึงต่อไป สำหรับความแตกต่าง
ประการหลักสามประการระหว่างพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT และ ATX คือ มีสายไฟฟ้า +3.3V เพิ่มเติม
อีกหนึ่งสาย, พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ในเวอร์ชันแรกๆ ใช้หัวต่อแบบ 20 ขา และพาวเวอร์ซัพพลาย
แบบนี้มีสายสำหรับเปิดปิด อันทำให้สามารถปิดพาวเวอร์ซัพพลายด้วยซอฟต์แวร์ได้ พาวเวอร์ซัพพลาย
ของ ATX มีขนาดกว้าง, สูง, ลึกเท่ากับ 5.90 นิ้ว x 3.38 นิ้ว x 5.51 นิ้ว (150 มิลลิเมตร x 86 มิลลิเมตร x
140 มิลลิเมตร
คอนเน็คเตอร์หลักของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์บนเมนบอร์ด ATX
มาตรฐาน ATX12V v1.x
เนื่องจากซีพียูสมัยใหม่ต้องการพลังงานมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มหัวต่อให้กับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ
ATX กล่าวคือ หัวต่อ 12V แบบสี่ขาและหัวต่อเสริม +3.3V และ +5V หกขา โดยหัวต่อแบบหกขานี้แต่
เดิมมีใช้กันอยู่ในเมนบอร์ด Pentium 4 รุ่นแรก (เมนบอร์ดที่ใช้ซ็อกเก็ต 423) เราใช้พาวเวอร์ซัพพลาย
แบบนี้กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยมีขนาดทางกายภาพเหมือนกับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ATX12V v1.3 ยังได้มีการนำหัวต่อ Serial ATA ซึ่งมี 15 ขาเข้ามาใช้
มาตรฐาน ATX12V v2.x
ATX12V รุ่นใหม่นี้เปลี่ยนหัวต่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดจาก 20 ขาเป็น 24 ขา และยังยกเลิกหัวต่อเสริม
6
ขาเนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป รวมทั้งปรับการใช้งานหัวต่อจ่ายไฟ Serial ATA อย่างไรก็ดี มี
เมนบอร์ดATX12V v2.x บางรุ่นที่ยังคงเปิดโอกาสให้เราใช้กับพาวเวอร์ซัพพลาย 20 ขาดังเช่นพาวเวอร์
ซัพพลาย ATX12V v1.x นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v2.x กับเมนบอร์ด
ATX12V v1.x โดยผ่านทางตัวแปลง ขนาดทางกายภาพของ ATX12V v2.X เหมือนกันกับพาวเวอร์
ซัพพลาย ATX ดั้งเดิมและยังคงรักษาหัวต่อ 12V 4 ขาเพิ่มเติมที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.x
มาตรฐานแบบอื่นๆ
EPS12V: SSI (Server System Infrastructure) เป็นผู้กำหนดรูปทรงนี้สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายเซิร์ฟเวอร์
ระดับล่าง พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้ใช้หัวต่อบนเมนบอร์ดแบบเดียวกับ ATX12V v2.x และมีหัวต่อ 12V
8 ขาแบบใหม่ EPS12V ยังคงมีขนาดเหมือนกับมาตรฐาน ATX ดั้งเดิม และใช้กับเมนบอร์ดแบบ
EPS12V เนื่องจากพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีหัวต่อเพิ่มขึ้นมาเพียงอันเดียว ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลาย
หลายรายจึงผลิตรุ่นที่เป็นทั้ง ATX12V v2.x และ EPS12V ในเวลาเดียวกัน
นอกจากรูปทรงหลักของพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับเครื่องเดสก์ทอปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปทรง
สำหรับเครื่องพีซีขนาดเล็กเช่นกัน
การระบายความร้อน
ดังที่เราได้กล่าวมาแล้วว่า พาวเวอร์ซัพพลายมีบทบาทสำคัญในกระบวนระบายความร้อนของพีซี โดย
หน้าที่ที่แน่นอนของมันคือนำอากาศร้อนออกไปจากเคส การไหลของอากาศภายในพีซีจะเริ่มจาก
อากาศเย็นไหลผ่านเข้าไปทางช่องด้านหน้าของเคส ต่อจากนั้น อากาศถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยอุปกรณ์ดัง
เช่นซีพียู การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ ชิปเซต ฯลฯ เนื่องจากอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น มัน
จึงลอยขึ้นไปด้านบนตามหลักธรรมชาติทำให้อากาศร้อนลอยตัวไปถูกกักอยู่ตรงส่วนบนสุดของเคส
พัดลมทำความเย็นของพาวเวอร์ซัพพลายจะทำงานเป็นพัดลมระบายอากาศ ดึงลมร้อนออกจากบริเวณนี้
และเป่าออกไปจากพีซี
ในยุคหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีราคาแพงจะมีพัดลมระบายอากาศสองหรือสามตัว แต่เดี๋ยวนี้ได้มีการ
เปลี่ยนแปลงไปโดยเปลี่ยนมาใช้พัดลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนเพื่อลดเสียงรบกวนในการทำงานไปด้วย
ในตัว และเคสส่วนมากก็จะมีพื้นที่ว่างพอควรสำหรับติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมที่ด้านหลัง
อย่างไรก็ตามเคสคอมพิวเตอร์บางรุ่นก็ไม่ได้ให้เราทำการติดตั้งพาวเวอร์ซัพพลายไว้ทางด้านบนของตัว
เคส แต่จะให้พาวเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคสแทน หรือถ้าเป็นเคสที่วางแบบแนวนอนพาวเวอร์
ซัพพลายก็จะอยู่ด้านหนึ่ง เมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะอยู่อีกด้านหนึ่ง พาวเวอร์ซัพพลายก็ยังมีส่วน
ช่วยในการระบายความร้อนออกจากเคสอยู่ดี เพราะอย่างน้อยๆ มันก็นำความร้อนจากตัวมันเองออกสู่
นอกเคส ไม่ทิ้งความร้อนสะสมไว้ภายในตัวเครื่องเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ
ปัญหาของพัดลมรวมไปถึงพัดลมพิเศษของพาวเวอร์ซัพพลายคือเสียง ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของเรา
ได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเสียง ผู้ผลิตบางรายจึงได้ใส่คุณสมบัติเพิ่มเติมเข้าไปในพาวเวอร์ซัพพลาย
เช่น
ความเร็วการหมุนของพัดลมขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของพาวเวอร์ซัพพลาย เมื่อต้องการพลังงานน้อย เสียงก็
จะเบาลง อย่างไรก็ดี มีพาวเวอร์ซัพพลายบางแบบที่เราต้องกำหนดความเร็วของพัดลมระบายอากาศเอง
ผ่านทางสวิตช์ด้านหลัง ไม่ได้กระทำแบบอัตโนมัติ
ประสิทธิภาพของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายไฟแสดงจำนวนเปอร์เซ็นต์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ถูกแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
อย่างมีประสิทธิภาพ มันคือความแตกต่างระหว่างการใช้พลังงานที่แหล่งจ่ายไฟส่งออกมากับส่วนที่ถูก
ดูดซับโดยระบบไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ
ถ้าแหล่งจ่ายไฟจ่ายเอาต์พุตออกมา 150W และใช้พลังงาน 200W จากระบบไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน เรา
สามารถสรุปได้ว่า แหล่งจ่ายไฟนี้มีประสิทธิภาพ 75% ความแตกต่าง จำนวน 50W ในตัวอย่างนี้ ถูกแพร่
กระจายในรูปของความร้อน อันหมายความว่า แหล่งจ่ายไฟที่มีดัชนีประสิทธิภาพสูงกว่า จะก่อให้เกิด
ความร้อนภายในเคสน้อยกว่าแหล่งจ่ายไฟที่มีดัชนีประสิทธิภาพต่ำกว่า
แหล่งจ่ายไฟอาจเป็นหนึ่งในหลายส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดความร้อนภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แหล่ง
จ่ายไฟที่ราคาแพงกว่าซึ่งมีระดับประสิทธิภาพสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความร้อนน้อยกว่าที่รุ่นที่มี
ราคาถูกกว่า เนื่องจากในปัจจุบัน สิ่งที่ควรคำนึงถึงตอนประกอบพีซีคือ ความร้อนสูง ดังนั้นเราควรนำ
ข้อมูลข่าวสารนี้มาพิจารณา
เลือกซื้อแบบง่ายๆ
ที่บอกมาทั้งหมดนั้นมันอาจจะดูเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากเกินกว่าจะใช้เวลาอันสันในการ
ทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามมันก็มีวิธีเลือกซื้อในทางปฏิบัติมาแนะนำบ้างอยู่เหมือนกัน
1. พาวเวอร์ซัพพลายที่ซื้อควรจะเป็นมาตรฐาน ATX 2.x
2. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับเมนบอร์ดแบบ 24 pin หรือแบบ 20+4 pin
3. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ 4 pin อย่างน้อย 1 เส้น หรือถ้าคอมพิวเตอร์
เราเป็นแบบประสิทธิภาพสูงเช่นต้องการใช้กับซีพียูแบบ Quad-Core ก็ให้เลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มี
AUX 12 โวลต์แบบ 8 pin หรือถ้าจะให้ดีมันมีพาวเวอร์ซัพพลายบางรุ่นจะมีคอนเน็คเตอร์ AUX 12
โวลต์
แบบ 4+4 ให้ใช้ ก็น่าสนใจ หมายถึงเป็นแบบ 4 pin สองตัวประกบกันเป็น 8 pin และแยกกันได้เมื่อ
ต้องการใช้แบบ 4 pin
4. ควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์หรือออปติคอลไดร์ฟแบบ
SATA อย่างน้อย 4 ชุด ถ้ามากกว่าได้ก็ยิ่งดี
5. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดพลังสูงก็มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ที่เรียกว่า PCI-E
ซึ่งจะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ 6 pin อย่างน้อยหนึ่งเส้น แต่ถ้าจะให้ดีก็ดูรุ่นที่มันมี PCI-E 6 pin อย่างน้อย
สักสองเส้นจะดีที่สุด
6. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดแบบ SLI หรือแบบ CrossFire ก็ให้มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีโลโก้
ประเภท SLI Ready หรือ CrossFire Ready เอาไว้ได้เลย เพราะกราฟิกการ์ดพวกนี้จะต้องใช้พลังงานที่
สูง
7. เลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้าย โดยคุณควรจะทำการดูคู่มือของอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นก่อนว่าต้องการแรงดันไฟแต่ละแบบเป็นอย่าไร แล้วลองใช้วิธีคำนวณตามตัวอย่าง
ตารางที่ 6 หรือถ้าขี้เกียจจริงๆ ก็ให้ลองสำรวจดูว่าคู่มือที่เราอ่านมานั้นมีอุปกรณ์ตัวไหนที่บอกว่าต้องใช้
พาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์ เท่าที่ลองใช้วิธีนี้ เราพบว่ากราฟิกการ์ดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเลือกพาว
เวอร์ซัพลายได้ดีที่สุด เพราะในคู่มือของกราฟิกการ์ดจะบอกเลยว่าควรจะใช้กับพาวเวอร์ซัพพลายขนาด
กี่วัตต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น