การ์ดเสียง

การ์ดเสียง (Sound Card)
คาวมหมายและความสำคัญ


       การ์ดเสียง หรือ ซาวน์การ์ด (อังกฤษ: sound card) คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูล

ดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า[1]

     เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่

สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้

ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน 

ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ 

ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด[2] โดยความสามารถของ 

A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้

ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิต

ของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - 

A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้

ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่

ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย Sound Card คืออะไร
    
Sound Card (การ์ดเสียง) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ 

โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ   หรือสร้าง

เสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการ

ให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
    
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่ม

ตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถ

ของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้

ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของ

สัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
         
 - A/D Converter 8 Bit  จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
         
 - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
          
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง 

นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย





Sound Card มีความจำเป็นแค่ไหน
    
ปัจจุบัน Mainboard ของเครื่อง PC Computer  แทบทุกตัว ล้วนติดตั้งวงจรแสดงผลการประมวลและส่ง

ออกของเสียง มาในตัวเองทั้งสิ้น หรือที่เรียกกันว่า Sound on Board ดังนั้น ความจำเป็นในการซื้อ 

Sound 

Card มาใช้งานจึงลดความจำเป็นลง หรือบางคนอาจคิดว่าไม่จำเป็นอีกต่อไป ก็ในเมื่อมีภาครับ-ส่ง

สัญญาณเสียงอยู่แล้ว แล้วยังจะต้องซื้อ Sound Card มาใช้งานให้ทับซ้อน สิ้นเปลืองสตางค์อีกทำไม 

เมื่อมันก็ทำงานเหมือนๆ กัน 

มาถึงจุดนี้ คงต้องถามตัวเองแล้วละ ว่า เราใส่ใจกับเสียงที่อยากได้ยินนั้นแค่ไหน ?

- ถ้าคุณรู้สึกว่า เสียงที่ได้จาก เพลง หนัง ละคร ไม่ว่าจะฟังจาก คอม วิทยุ เครื่องเล่น CD โทรทัศน์ ทุก

อย่างมันก็เหมือนๆ กัน ฟังรู้เรื่องว่าเป็นเสียงอะไร ต่างกันแค่เสียงดัง หรือเสียงเบาเท่านั้น - หากเป็นเช่น

นั้น สรุปได้ว่า Sound Card นั้น ไม่มีความจำเป็นกับคุณเลย

- แต่ถ้าคุณรู้สึกถึงว่า เสียงที่ได้ยินจากแต่ละเครื่องเล่น แต่ละอุปกรณ์ คอมแต่ละเครื่อง มีความแตกต่าง

กัน อันนั้นเบสหนักสะใจ อันโน้นเสียงโปร่งๆ ปิ้งๆ ฟังสบาย อันนี้เสียงหวาน นิ่มนวล ฯ - แบบนี้ Sound 

Card อาจมีส่วนช่วยคุณได้ เพื่อให้ได้เสียงที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปในแบบทีชอบหรือ

ต้องการมากขึ้น

  ส่วนประกอบของ การ์ดเสียง (sound Card) 



แสดงส่วนประกอบของการ์ดเสียง (Sound Card)1. ชิปเสียง  ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นจากดิจิตอลเป็นคลื่น

เสียงที่คนสามารถได้ยิน  เสียงจะมีคุณภาพเพียงใดจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของชิปเสียง 2. อินเตอร์เฟส 

(Interface) คือ แถบที่ใช้เสียบเข้ากับสล็อตที่อยู่บนเมนบอร์ด  การ์ดเสียงจะทำงานบนสล็อต PCI 

(Peripheral Component Interconnect) มีความเร็วในการรับ ส่งข้อมูลสูงกว่าแบบ ISA (Industrial 

Standard Architecture) ซึ่งอาจเปลี่ยนไปใช้สล็อต PCI Express x16 เพราะมีประสิทธิภาพในการรับส่ง

ข้อมูลสูงกว่า PCI 3.หัวต่อกับอุปกรณ์ภายในเครื่อง  การ์ดเสียงมีหัวต่อที่ใช้นำเข้าสัญญาณเสียงจาก

อุปกรณ์ที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็ก จำนวน 4 ขา ซึ่งแต่ละประเภทของหัวต่อจะติดตั้งบน

การ์ดเสียงมีดังนี้ - หัวต่อ CD In หรือ CD Analog ใช้สำหรับต่อสัญญาณเสียงจากซีดีรอมมายังการ์ด

เสียง แต่สัญญาณนี้จะเป็นคลื่นแบบอะนาล็อกที่การ์ดเสียงสามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยลักษณะของ

หัวต่อจะมี 4 ขา  - หัวต่อ AUX (Auxiliary) ใช้ต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การ์ดทีวี (TV Tuner Card) เพื่อนำ

สัญญาณเสียงที่ได้จากอุปกรณ์เหล่านั้นมาประมวลผลรวมเข้ากับเสียงหลัก แล้วส่งตรงออกสู่ลำโพงผ่าน

ทางการ์ดเสียง   - หัวต่อ TAD (Telephone Answer Device) ใล้สำหรับการนำสัญญาณเสียงจากระบบ

ตอบรับโทรศัพท์ของโมเด็มแบบติดตั้งภายในเข้ามายังการ์ดเสียง   - หัวต่อ PC Speaker หัวต่อนี้จะใช้ต่อ

เข้ากับหัวต่อลำโพงที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยปกติในเคสของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีลำโพงขนาดเล็กติด

ตั้งอยู่เพื่อใช้ส่งเสียง "ปี๊บ" เวลาที่เครื่องทำงานผิดพลาด สามารถต่อสายในส่วนนี้จากเมนบอร์ดเข้าสู่

การ์ดเสียงด้วยช่อง PC Speaker เพื่อให้เสียง "ปี๊บ" ออกไปยังลำโพงตัวใหญ่ข้างนอกได้4.หัวต่อกับ

อุปกรณ์ภายนอก มีไว้สำหรับต่อออกลำโพงหรือใช้ต่อกับไมโครโฟนเพื่อนำสัญญาณเสียงเข้ามาบันทึก

เก็บไว้เป็นไฟล์ ลักษณะของหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกมักจะเป็นหัวต่อแบบเดียวกับที่นิยมใช้ต่อกับ

เครื่องเสียงทั่วไป ดังนั้น การเสียบสายสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ จึงทำได้ง่าย ประเภทของหัวต่อกับ

อุปกรณ์ภายนอกก็เช่น  - หัวต่อ Line Out หรือ Speaker เป็นหัวต่อสีเขียวอ่อนใช้สำหรับต่อกับลำโพง 

หรืออาจจะนำสัญญาณเสียงจากการ์ดเสียงไปเข้าเครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ก็ได้ ในขณะที่การ์ดเสียง

รุ่นที่สามารถต่อกับลำโพงได้มากกว่า 2 ตัวอาจจะใช้ชื่อหัวต่อนี้ว่า "Front" หรือ "Front Speaker" เพราะ

จะใช้สำหรับต่อกับลำโพงคู่หน้า  - หัวต่อ Line In เป็นหัวต่อสีฟ้าอ่อนใช้สำหรับต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่

ต้องการจะนำสัญญาณเสียงเข้ามาบันทึกหรือใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์    - หัวต่อ MIC In หรือ 

Microphone เป็นหัวต่อสีชมพูอ่อนใช้สำหรับต่อกับไมโครโฟนเพื่อนำเสียงพูดหรือเสียงอื่นๆ บันทึกเก็บ

ไว้เป็นไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นเสียงพูดที่ใช้ประกอบไฟล์เอกสารก็ได้       - หัวต่อ 

Rear Speaker จะมีในการ์ดเสียงรุ่นที่สามารถต่อกับลำโพงแบบ 4 ตัวขึ้นไปเท่านั้น หัวต่อนี้มีสีดำใช้

สำหรับต่อกับลำโพงคู่หลังที่เป็นลำโพงเซอร์ราวน์    - หัวต่อ Joystick มีลักษณะเป็นแบบ D-Sub สี

เหลือง มีจำนวนขา 15 ขา ใช้สำหรับต่อกับจอยสติกเพื่อใช้ควบคุมการเล่นเกม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำตัว

แนะนำตัว ชื่อ ภราดร นามสกุล พวงเพ็ชร์  ชื่อเล่น อาร์ม เกิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2542 อายุ 18 ปี ศาสนา พุทธ สัญชาติ ไทย ...