การ์ดแลน อุปกรณ์ชื่อมต่อเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องทำการเชื่อมต่อกัน โดยในการ
เชื่อมต่อจะมีสื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์
แฟกซ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ ยังเป็นผลดีในกรณีที่ต้องการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่อยู่
ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทั่วโลกโดยใช้
เวลาเพียงน้อยนิด จากเดิมที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องใช้สื่อเก็บข้อมูลที่รับส่งกัน
ภายนอก เช่น บันทึกลงแผ่นดิสก์แล้วไปส่งให้กับอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลามาก ยิ่งถ้า
ต้องการสื่อสารกันข้ามโลกยิ่งเป็นเรื่องลำบากและใช้เวลานานมาก แต่ในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านสาย
สัญญาณของระบบเครือข่ายนั้น ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ในเสี้ยววินาที
การ์ดแลน (LAN Card) ป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไป
ยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ด
แลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มัก
จะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อเมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสาย
ที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น
การ์ดแลน(LAN Card) เป็นชื่อที่เรียกกันติดปากทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าชื่ออย่างเป็นทางการของมัน
มีชื่อว่า การ์ดอีเธอร์เน็ต มีไว้สำหรับรับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะัมีสายที่ใช้เชื่อมต่อ
เครือข่ายเข้าด้วยกัน เรียกว่า สายแลน การเชื่อมต่อเครือข่ายและจะทำให้เราสามารถและเปลี่ยนข้อมูล
กันระหว่างเครื่องได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งสามารถดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ส่วนเครื่องอื่นก็ใช้การแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลัก ความเร็วในการ์ดแลนจะ
อยู่ที่ประมาณ 100 Mbps และเริ่มเข้าสู่ 1000 Mbps หรือเรียกกันว่า กิกะบิตแลน(Gigabit LAN) แต่ก็
อย่างว่าแหละัครับ การเชื่อมต่อแบบแลนคือการแชร์ บางคนอาจจะเปิดมาก หรือเปิดน้อยขึ้นอยู่ว่าจะเล่น
แบบไหน อาจทำให้เกิดการดึงกันระหว่างเครื่อง เครื่องที่เล่นไฟล์ที่ต้องใช้การดาวน์โหลดมากๆ ก็จะ
ทำให้เครื่องอื่นเล่นได้ช้าลง
สายแลนมี 2 แบบ คือแบบตรง กับแบบไขว้
แบบตรง ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์โดยใช้ Switch หรือ Hub เป็นตัวแยกสัญญาณ
แบบไขว้ ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์ประเภทเดียวกัน เข้าหากัน เช่น เครื่อง
คอมพิวเตอร์
ต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ Switch ต่อกับ Switch
Router ต่อกับ Router
หรือ ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างชนิดกัน แต่มีการทำงานระดับเดียวกัน (layer 3 - layer 7) เข้าหา
กัน เช่น
คอมพิวเตอร์ ต่อกับ Router
คอมพิวเตอร์ ต่อกับ UT
UT ต่อกับ ATA
การจะดูว่าเป็นสายตรง หรือสายไขว้ ให้ถอดเอา หัวสายแลนมาหงาย เทียบสีดู ถ้าทั้ง สองหัว สี
เหมือนกันก็เป็นสายตรง ถ้ามีสลับสี เส้นที่ 1 กับเส้นที่ 3 และ เส้นที่ 2 กับเส้น ที่ 6 ก็เป็นสายไขว้
อุปกรณ์สื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบอื่นๆ
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Device) ซึ่งทำหน้าที่บและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น
สื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยัง
อุปกรณ์ต่ออื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสาย
สัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณใน
ระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดย
สัญญาณไม่สูญหาย
2. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ
เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะ
เลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น
3. บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่
ใช้โพรโทคอลเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูล
ที่ส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือ
ข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น
4. อุปกรณ์จัดหาเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า
โดยจะหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packet) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้
5. สวิตซ์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัว
หนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตซ์จะทำหน้าที่รับกล่มข้อมูลมา
ตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่ง
ช่วยลดปัญหาการชนกันหรือความคับคั่งของข้อมูล
6. เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าเครือข่าย
นั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็คเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไป
เป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสมกัยการใช้งานในเครือข่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น